H.POT - HIV multilingual info Japan

สวัสดี

เรียนทุกท่านที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น !
เราได้มีการรวบรวมข้อมูลสำคัญเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตกับเรื่องเพศ (SEX LIFE)ของเกย์ (GAY) ・ กะเทย (BiSexual) และเอชไอวี/เอดส์ และขอนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้าน HIV โดยรวม ผ่านทางเว็บไซต์
"แผนที่ให้คำปรึกษาและตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี"

เอชไอวี คืออะไร?

เอชไอวีคือไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคที่เรียกว่าโรคเอดส์ หากสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น น้ำอสุจิ เลือดของบุคคลที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะติดเชื้อโดยการเข้าสู่ร่างกายของคนอื่นจากเยื่อเมือกและบาดแผล การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับบุคคลอื่นโดยไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ แต่การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารร่วมกันโดยใช้ภาชนะร่วมกัน การใช้ห้องสุขาเดียวกันจะไม่ติดเชื้อเอชไอวี

โรค AIDS คืออะไร

โรค AIDS เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัส HIV
หากติดเชื้อ HIVแล้ว และไม่ได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานานหลายปี ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะถูกทำลายโดยเชื้อ HIV ไปเรื่อยๆ จนทำให้ร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆที่เข้าไปในร่างกายได้ จนเกิดอาการเจ็บป่วยได้
ซึ่งโดยปกติ คนที่มีสุขภาพแข็งแรง จะไม่ติดโรคเหล่านี้ได้ง่าย ๆ เราเรียกสถานการณ์เช่นนี้ได้ว่าเป็นโรค AIDS หรือ (กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง) หากผู้ป่วยไม่ไปรับการบำบัดรักษา อาจทำให้มีความสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากขึ้น

ที่ประเทศญี่ปุ่น เชื้อไวรัส HIV ก็มีการระบาดด้วยหรือ ?

ที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ประมาณ ปี 2007 มีผู้ที่รู้ตัวเองว่าติดเชื้อ HIV รายใหม่ในแต่ละปีจะมีประมาณ 1500 คนต่อปีสาเหตุที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นคือมาจากกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ในชายรักชาย
คนต่างชาติที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นก็เช่นกันโดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชายก็มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ตรวจเลือดหาเชื้อ HIV และไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อหรือไม่ หรืออาจติดเชื้อแล้วแต่ยังไม่รู้ตัว เพราะฉนั้น อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อHIVเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่ทราบจริงในปัจจุบัน

เราจะป้องกัน HIV กันได้อย่างไรบ้าง ?

ขอแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อที่จะป้องกันการติดเชื้อ HIV
หากไม่ใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ไม่เพียงแต่ฝ่ายรับเท่านั้น ฝ่ายรุกก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อHIVได้เช่นกัน
ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ โดยใช้ปาก ฝ่ายที่จะใช้ปาก ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อHIV ได้เช่นกัน
เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุดแนะนำให้ทุกท่านใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
นอกจากนี้โอกาสที่จะติดเชื้อไวรัส HIV จะมีสูงมากขึ้น หากป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส เริม หรือ หนองในเทียม แนะนำให้ไปรับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่เป็นประจำ
หากมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ดังที่กล่าวในข้างต้น ควรไปโรงพยาบาลเพื่อที่จะรับการตรวจและรักษาโดยเร็ว

คุณรู้หรือไม่ว่าคุณติดเชื้อเอชไอวี ?

หากคุณติดเชื้อเอชไอวี คุณจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อ 2 ถึง 4 สัปดาห์ หรือบางคนอาจไม่มีอาการใดๆเลย ดังนั้นจะไม่สามารถบอกได้ว่ามีอาการไข้เพียงอย่างเดียวคือการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อที่จะทราบว่าคุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ต้องไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีเท่านั้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อได้การตรวจร่างกายทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ควรไปตรวจยืนยันเป็นครั้งที่สองหลังจากมีความเสี่ยง 2 ถึง 3 เดือน จะได้ผลการตรวจที่แน่นอนกว่า นอกจากนี้ขอแนะนำให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายไปรับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี อย่างสม่ำเสมอ

คุณจะไปรับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ได้ที่ไหน?

คุณสามารถไปรับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีได้ที่ศูนย์อนามัย ตรวจฟรี ตรวจนิรนาม ไม่ต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น รักษาข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีจำนวนศูนย์อนามัยไม่กี่แห่งที่ให้บริการเป็นภาษาต่างประเทศ ควรปรึกษาหน่วยงาน NPO หรือองค์กรที่ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และการจัดส่งล่ามภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ที่โรงพยาบาล คลินิก ฯลฯ (มีค่าใช้จ่าย)

หากผลการตรวจเอชไอวีเป็นบวก

หากได้รับผลการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อเอชไอวีบวก จะแนะนำคลินิก หรือโรงพยาบาลที่สามารถดูแล รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ ประเทศญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากมีเชื้อเอชไอวีบวก ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถรับการรักษาได้ทุกสถานรักษาพยาบาล โดยไม่เกี่ยวข้องกับสัญชาติหรือสถานภาพการพำนักแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามสถานรักษาพยาบาลที่ให้คำแนะนำเป็นภาษาต่างประเทศได้นั้นมีจำนวนจำกัด ดังนั้นควรปรึกษากับศูนย์อนามัยและองค์กรเอกชนเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ที่คลินิก หรือที่โรงพยาบาลจะตรวจดูสภาพภูมิคุ้มกันและอื่น ๆ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการรักษา ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องรักษาเป็นเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป (ไม่รวม 3 เดือน) สำหรับผู้ที่มีวีซ่าทำงานหรือนักศึกษา โดยส่วนใหญ่จะมีสิทธิ์ได้เข้าประกันสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตามอาจมีข้อยกเว้นติดต่อสอบถามที่ทำงานหรือสถาบันการศึกษาด้วย นอกจากนี้การรักษาเอชไอวียังมีระบบช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นกรุณาขอคำปรึกษากับหน่วยงานNPOs และนักสังคมสงเคราะห์ที่โรงพยาบาล

การรักษาเอไอวี /เอดส์

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มียาใด ๆ ที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ปัจจุบันมียา (ยาต้าน HIV) ที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มเชื้อเอชไอวีในร่างกาย ซึ่งได้มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ การที่ผู้ป่วยเอดส์มีวินัยในการกินยาต้านเอชไอวีอย่างต่อเนื่องทุกวัน จะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นประจำ เมื่อเริ่มการรักษาสิ่งสำคัญคือต้องทานยาทุกวันนอกจากนี้หากป่วยเป็นเอดส์ก็มีความหวังสามารถฟื้นตัวได้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม